บุคคลจะเป็นพลเมืองดีของสังคมนั้น ต้องตระหนักถึง บทบาท หน้าที่ ที่จะต้องปฎิบัติสอดคล้องกับหลักธรรม วัฒนธรรม ประเพณี และรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ รวมทั้งบทบาททางสังคมที่ตนดำรงอยู่
เมื่อสามารถปฎิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ ย่อมเกิดความภาคภูมิใจ และเกิดผลดีทั้งต่อตนเองและสังคม การเป็นพลเมืองที่ดีเคารพกฎหมาย เคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น มีความกระตือรื้อร้น ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของชุมชนและสังคม มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นหลัก ในการดำเนินชีวิตอย่างสงบสุข
พลเมืองดี
พลเมืองดี หมายถึง ผู้ที่ปฎิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน ทั้งกิจที่ต้องทำ และ กิจที่ควรทำ"พลเมืองดี''
พลเมืองดี ในวิถีประชาธิปไตย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำต่างๆดังนี้
พลเมือง หมายถึงชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน
วิถี หมายถึง สาย แนว ทาง ถนน
ประชาธิปไตย หมายถึง รูปแบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่ ถือเอาเสียงข้างมาก
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย จึงหมายถึง พลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ คือเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลัการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ปฎิบัติตนตามกฎหมาย ดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคม และ ประเทศชาติ ให้เป็นประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ตามหลักประชาธิปไตย
แนวทางการปฎิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
ด้านสังคม
- การแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
- รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- ยอมรับเมื่อผู้อื่นมีเหตุผลที่ดีกว่า
- ตัดสินใจโดยการใช่เหตุผลมากกว่าอารมณ์
- เคารพกฎระเบียบของสังคม
- มีจิตสาธารณะ คือ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม และ รักษาสาธารณะสมบัติ
ด้านเศรษฐกิจ
- รู้จักประหยัดและอดออมในครอบครัว
- มีความซื่อสัตย์สุจริตต่ออาชีพที่ทำ
- พัฒนางานอาชีพให้ก้าวหน้า
- ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
- สร้างงานและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยและสังคมโลก
- เป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ดี มีความซื่อสัตยื ยึดมั่นอุดมการณ์ที่ดีต่อชาติ เป็นสำคัญ
ด้วนการเมืองการปกครอง
- เคารพกฎหมาย
- รับฟังความคิดเห็นของทุกคนและมีความอดทนต่อการขัดแย้งร
- ยอมรับเหตุผลที่ดีกว่า
- ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
- กล้าเสนอความคิดเห็นต่อส่วนรวม กล้าเสนอตนเองในการทำหน้าที่ สมาชิกผู้แทนราษฎร หรือ สมาชิกวุฒิสภา
- ทำงานอย่างเต็มความสามารถ เต็มเวลา
หน้าที่พลเมือง
1.คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ได้แก่ การลดความเห็นแก่ตัว เสียสละแรงกายแรงใจ เพื่อทำประโยชน์ต่อส่วนรวม ช่วยกันดูแลทรัพย์สินที่เป็นสาธารณะสมบัติ เช่น ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ห้องสมุดประจำหมู่บ้าน เป็นต้น ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่นป่าไม้ แม่น้ำ ลำธาร รวมทั้งตักเตือนและช่วยห้ามปรามบุคคล ไม่ให้ทำลายสาธารณะสมบัติหรือสิ่งแวดล้อม
2.วินัย ได้แก่ การฝึก กาย วาจา และใจให้สามารถควบคุมความประพฤติของตนเองให้อยู่ในระเบียบแบบแผนอันดีงาม เพื่อให้การปฎิบัติงาน การอยู่ร่วมกันของกลุ่ม ในสังคมไปได้ด้วยความเรียบร้อย
3. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ได้แก่ การเอาใจใส่ ตั้งใจ และมุ่งมั่นปฎิบัติหน้าที่ตามบทบาทของตนอย่างเต็มความสามารถ ทั้งนี้เพื่อให้งานบรรลุผลอย่างเต็มเป้าหมาย ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
4. ความอดทน ได้แก่ การมีจิตใจหนักแน่น เยือกเย็น ไม่หุนหันพลันแล่น สามารถความคุมอารมณ์ และ พฤติกรรม ให้เป็นปกติเมื่อต้องเผชิญกับสิ่งที่เป็นปัญหาหรือสิ่งที่ไม่พอใจ
5.รู้จักประหยัดและอดออม ได้แก่ การรู้จักใช้จ่ายตามความจำเป็นอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ฟุ่งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย รู้จักเก็บออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น ใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่ของตน
6.การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ได้แก่ การมีจิตใจเปิดเผย รู้แพ้รู้ชนะ และให้อภัยแก่กัน ทำงานในลักษณะช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ไม่แแข่งขันหรือแก่งแย่งชิงดีกัน
7.ความซื่อสัตย์สุจริต ได้แก่ มีความจริงใจ ไม่อคติ ปฎิบัติตนปฎิบัติงานตรงไปตรงมา ตามระเบียบปฎิบัติ ไม่ใช้เล่ห์เลี่ยม หรือกลโกง ไม่ทำแบบ คตในข้องอในกระดูก นอกจากนี้การทำงานต้องอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจ และมีไมตรีจิตต่อกัน ไม่หวาดระแวง แครงใจกัน
8. การอนุรักษณ์ความเป็นไทย ได้แก่ มีจิตสำนึกในความเป็นไทย เช่น พูด เขียน และใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง อนุรักษณ์วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย และนำความเป็นไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งคิดค้น ดัดแปลงความเป็นไทยให้เข้ากับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่จริง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ตลอดจนถ่ายทอดความเป็นไทย ไปสู่คนรุ่นหลังได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
5.รู้จักประหยัดและอดออม ได้แก่ การรู้จักใช้จ่ายตามความจำเป็นอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ฟุ่งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย รู้จักเก็บออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น ใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่ของตน
6.การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ได้แก่ การมีจิตใจเปิดเผย รู้แพ้รู้ชนะ และให้อภัยแก่กัน ทำงานในลักษณะช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ไม่แแข่งขันหรือแก่งแย่งชิงดีกัน
7.ความซื่อสัตย์สุจริต ได้แก่ มีความจริงใจ ไม่อคติ ปฎิบัติตนปฎิบัติงานตรงไปตรงมา ตามระเบียบปฎิบัติ ไม่ใช้เล่ห์เลี่ยม หรือกลโกง ไม่ทำแบบ คตในข้องอในกระดูก นอกจากนี้การทำงานต้องอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจ และมีไมตรีจิตต่อกัน ไม่หวาดระแวง แครงใจกัน
8. การอนุรักษณ์ความเป็นไทย ได้แก่ มีจิตสำนึกในความเป็นไทย เช่น พูด เขียน และใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง อนุรักษณ์วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย และนำความเป็นไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งคิดค้น ดัดแปลงความเป็นไทยให้เข้ากับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่จริง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ตลอดจนถ่ายทอดความเป็นไทย ไปสู่คนรุ่นหลังได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
พลเมืองของแต่ละประเทศ ย่อมมีสิทธ์และหน้าที่ ตามกฎหมายของประเทศนั้น บุคคลต่างสัญชาติ ที่เข้าไปอยู่อาศัย ซึ่งเรียกว่า คนต่างด้าว ไม่มีสิทธิเท่าเทียมกับพลเมือง และมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป เช่น อาจมีหน้าที่เสียภาษี หรือ ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น ตามที่กฎหมายแต่ละประเทศบัญญัติไว้
ที่มา
- http://www.parichut.wordpress.com/category/พลเมืองดี/
-http://www.thaistudyfocas.com/สังคมศึกษา/หน้าที่พลเมือง/
-http://www.citizenship-dmsu.weebly.com/1/post/2012/2/8.html
-http://www.write.dek-d.com/freya1412/story/viewlong.php?id=733167&chapter=7